วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6



" การอนุรักษ์ป่าไม้สามารถกระทำได้ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2540 ) "
1. การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ มีอยู่ 20 ข้อที่สำคัญ คือ การกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ เป็นการกำหนดแนวทางการจัดการและ การพัฒนาป่าไม้ในระยะยาว
2. การปลูกป่า
เป็นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างหนึ่ง เมื่อป่าไม้ในพื้นที่ถูกตัดฟันลงไม่ว่ากรณีใดก็ตาม นโยบายการรักษาป่าไม้จะกำหนดให้มีการปลูกป่าขึ้นทดแทนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าทุกรูปแบบ
3. การป้องกันไฟไหม้ป่า
ไฟไหม้ป่าถือว่าเป็นอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับป่าไม้การฟื้นฟูกระทำได้ยากมาก ไฟไหม้ป่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ จากความประมาทเลินเล่อ ทำให้ต้นไม้บางส่วนอาจตาย บางส่วนอาจชะงักการเจริญเติบโต และบางแห่งอาจตายหมด หากเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนพืชหมดโอกาสแพร่พันธุ์ได้
4. การป้องกันการบุกรุกทำลายป่
การบุกรุกการทำลายป่าไม้ในปัจจุบัน จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น การป้องกันทำได้โดย การทำหลักเขตป้ายหรือเครื่องหมายให้ชัดเจนเพื่อบอกให้รู้ว่า เป็นเขตป่าประเภทใด การแก้ปัญหานี้สำคัญที่สุดอยู่ที่ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นไปด้วยความเที่ยงตรง เอาจริงเอาจัง และมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพและหน้าที่ปฏิบัติตามตัวบทกฎหมายและพระราชบัญญัติป่าไม้อย่าง เคร่งครัดจะสามารถป้องกันการทำลายป่าในทุกรูปแบบได้
5. การใช้วัสดุทดแทนไม้
ในการก่อสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เคยใช้ไม้ดั้งเดิม เช่น การสร้างสะพานเพื่อทดแทนสะพานเก่าที่ชำรุด ควรจะใช้เหล็กทำสะพานให้รถวิ่งชั่วคราว ก่อนจะมีสะพานใหม่ที่ถาวรและสร้างได้ด้วยวัสดุอื่นแทนไม้
6. การใช้ไม้อย่างมีประสิทธิภาพ / ประหยัด
เป็นการนำเนื้อไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยใช้ทุกส่วนของต้น เช่น ไม้ที่เหลือจากการแปรรูป นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างแล้วสามารถนำ ไปเป็นวัตถุดิบทำไม้อัด ไม้ปาร์เก้ชิ้นไม้สับ (Chip board) ไม้ประสาน (Particle board) ทำเครื่องใช้ขนาดเล็ก เช่น แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ ของชำร่วย เป็นต้น ส่วนไม้ที่นำมาแปรรูปเพื่อใช้ในการก่อสร้างหรือเพื่อการอื่น ควรปรับปรุง คุณภาพไม้ ก่อนนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การอาบน้ำยาไม้อบให้แห้งเพื่อยึด อายุการใช้งานให้ยาวนานออกไ
7. การพยายามนำไม้ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์มาใช้

บทที่ 5


" การอนุรักษ์ดินและน้ำ "
การอนุรักษ์ดินและการอนุรักษ์น้ำในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นกิจกรรมซึ่งมีผลเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน กล่าว คือ ในการอนุรักษ์ดินส่วนใหญ่เราจะดำเนินการในด้านการลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินมิให้ทำอันตรายต่อผิวดิน โดยการชะลอความเร็วของกระแสน้ำที่ไหลหรือด้วยวิธีการเก็บกักน้ำไว้ตามลำธารลำห้วยเป็นตอนๆ เพื่อที่น้ำจะได้มีโอกาสไหลซึมลงไปเก็บสะสมอยู่ในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นจึงค่อยไหลระบายออกจากดินลงสู่ลำธารและลำห้วยตลอดทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ทำให้ลำธารและลำห้วยดังกล่าวมีน้ำไหลตลอดปี และอำนวยประโยชน์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ตลอดจนการทำมาหากินให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำอย่างทั่วถึง ดังวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่สำคัญต่อไปนี้

๑. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยพืช โดยการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการพังทลายของดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ไม่มีป่าไม้ ด้วยพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่และวิธีการปลูกดังนี
๑.๑ การปลูกพืชเป็นแนวตามเส้นชั้นระดับเดียวกัน โดยการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นแนวไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่
๑.๒ การปลูกพืชสลับเป็นแถบ โดยการแบ่งพื้นที่ปลูกพืชหลายชนิดเป็นแถบสลับกันและตั้งฉากกับความลาดเทของพื้นที่มีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ ปลูกเป็นแถบคดโค้งไปตามแนวเส้นชั้นระดับเดียวกัน และปลูกเป็นแถบตั้งฉากกับความลาดเทเป็นแนวตรงขนานกัน
๑.๓ การปลูกพืชหรือใช้วัสดุคลุมดินสำหรับพื้นที่บางแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าดินถูกน้ำและกระแสลมกระทำโดยตรง และยังเป็นการลดการระเหยของน้ำออกจากดินมากเกิดขอบเขตอีกด้วย พืชคลุมดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วและหญ้าบางชนิด ส่วนวัสดุคลุมดินได้แก่เศษพืช เป็นต้น
๑.๔ การปลูกต้นไม้หรือพืชหลายอย่างในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ใบพืชต่างๆสามารถคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด เพื่อลดการถูกชะล้างพังทลายของดินและช่วยรักษาความชื้นในดินด้วย

๒. วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้าง โดยทั่วไปการปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งมีความลาดชันมากแต่เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่ามาบนผิวดินได้ดีเท่าที่ควร จึงนิยมก่อสร้างหรือดัดแปลงสภาพพื้นที่ร่วมกับวิธีการอนุรักษ์ด้วยพืช เพื่อช่วยลดความรุนแรงของน้ำที่ไหลบ่ามาดังกล่าว นอกจากนั้น ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ จะนิยมก่อสร้างหรือหาวิธีเก็บกักน้ำไว้เป็นระยะๆ อีกด้วยสำหรับใช้ชะลอความเร็วของกระแสน้ำ และน้ำที่กักกั้นไว้ก็จะซึมเข้าไปเก็บขังอยู่ในดินตามตลิ่ง และท้องน้ำได้มากขึ้น วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการก่อสร้างที่สำคัญ มีดังนี้
๒.๑ การก่อสร้างคันดิน โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำห่างกันเป็นระยะๆตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งคันดินแต่ละแนวจะสร้างไปตามพื้นดินที่มีระดับดินเท่า กันโดยประมาณ หรืออาจสร้างมีแนวลาดลงสู่ที่ต่ำทีละน้อยพร้อมกับขุดร่องน้ำที่มีลักษณะแบน และตื้นอยู่ทางด้านหน้าติดกับคันดินด้วย เพื่อจะได้ระบายน้ำที่คันดินกั้นไว้ออกไปจากพื้นที่ลงสู่ร่องน้ำและลำธารต่อไป
คันดินที่ก่อสร้างขึ้นควรมีลักษณะเตี้ยและแบน มีระยะความสูงของคันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร และขนาดความกว้างของฐานคันดินกับความกว้างของร่องน้ำควรมีระยะรวมไม่น้อยกว่า ๕ เมตร เพื่อให้คันดินมีความมั่นคงแข็งแรง และสร้างด้วยเครื่องจักรกลได้สะดวก
๒.๒ การก่อสร้างขั้นบันได ในบริเวณลาดเนินเขาทั่วไปสมควรขุดตักดินเป็นขั้นบันไดห่างกันเป็นระยะตลอดความยาวของพื้นที่ลาดเนิน โดยเลือกขั้นบันไดดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ดังต่อไปนี้
๑) ขั้นบันไดแบบราบ มีพื้นที่ขั้นบันไดอยู่ในแนวระดับ และนิยมสร้างคันดินเพื่อกั้นน้ำที่ขอบบันไดทุกชั้นด้วยเหมาะสำหรับท้องที่ซึ่งมีฝนตกชุกและต้องการเก็บขังน้ำไว้ใช้เพาะปลูกพืชตามขั้นบันไดดังกล่าว
๒) ขั้นบันไดแบบลาดเทออกมีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทออก สามารถใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ซึ่งมีฝนตกน้อย
๓) ขั้นบันไดแบบลาดเทเข้ามีพื้นที่ขั้นบันไดลาดเทเข้า ซึ่งจะสามารถดักและเก็บขังน้ำอยู่ตามขั้นบันไดได้ จึงเหมาะที่จะก่อสร้างในภูมิภาคที่มีฝนตกชุก
การอนุรักษ์ดินและน้ำในบริเวณพื้นที่ลาดเอียงโดยวิธีการก่อสร้างคันดินและขั้นบันไดดังกล่าว สมควรปลูกต้นไม้หรือพืชคลุมดินให้ทั่วทั้งบริเวณ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการพังทลายของดิน และทำให้พื้นที่ต้นน้ำลำธารบริเวณนั้นมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น
๒.๓ การก่อสร้างฝายปิดกั้นทางน้ำ ตามร่องน้ำและลำธารต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารซึ่งถูกทำลายจนมีสภาพเสื่อมโทรมควรพิจารณาสร้างสิ่งก่อสร้างปิดกั้นลำน้ำที่เรียกว่า "ฝาย" เป็นระยะๆ เพื่อใช้ทดและเก็บน้ำที่ไหลบ่าลงมาไว้ในลำน้ำคล้ายกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กให้กระจายอยู่ทั่วไปตามบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยน้ำที่เก็บกักนี้จะซึมเข้าไปในดินตามตลิ่งและท้องน้ำ เข้าไปเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินทำให้น้ำที่เก็บกักอยู่ในดินตามบริเวณต้นน้ำลำธารนั้นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้พื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารดังกล่าวเกิดความชุ่มชื้นและมีน้ำไหลอกจากดินหล่อเลี้ยงลำธารตลอดปี
ฝายที่สร้างปิดกั้นทางน้ำในบริเวณต้นน้ำลำธาร อาจสร้างด้วยวัสดุซึ่งมีราคาถูก และหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ ไม้ไผ่ เสาไม้ ทราย และกรวด เป็นต้น โดยนำเสาไม้ มาตอกให้ห่างกันเป็นระยะๆ ขวางทางน้ำให้ได้หลายแถวตามที่ต้องการ และนำไม้เคร่ามาตอกติดกับเสาแล้วกรุด้วยไม้ไผ่ติดกับเคร่าพร้อมกับสะกิ่งใบไม้และอัดกรวดทรายลงไปในคอกให้เต็ม หรือฝายในบางท้องที่อาจใช้วัสดุก่อสร้างอันประกอบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ นำมากองก่ายเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูขวางลำน้ำ โดยในช่องว่างของหินขนาดใหญ่แต่ละชั้นบรรจุด้วยกรวดและหินย่อยขนาดเล็กลงไปจนเต็ม ซึ่งฝายที่สร้างด้วยหินดังกล่าวนี้จะต้านทานน้ำที่ไหลผ่านตัวฝาย และน้ำที่ล้นข้ามสันฝายได้เป็นอย่างดี
เมื่อต้องการสร้างฝายให้มั่นคงแข็งแรง และเก็บขังน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางน้ำที่มีน้ำไหลแรงในฤดูฝนก็จะต้องใช้วัสดุที่มีความคงทนถาวรเป็นหลัก ได้แก่ หิน ซีเมนต์ และคอนกรีตล้วน โดยมีการคำนวณออกแบบกำหนดสัดส่วนของฝายให้เหมาะสมกับภูมิประเทศ ให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่คาดว่าจะมีมามากที่สุดให้ไหลข้ามฝายไปได้อย่างปลอดภัย และจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกวิธีด้วย

บทที่ 4




บทที่ 3



1. หยุดยั้ง 
1.1 ตรวจสอบพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทั้งทางพื้นดิน ด้วยการลาดตระเวน เฝ้าตรวจ และตรวจสภาพทางอากาศ รวมทั้งถ่ายภาพพื้นที่ป่าในสภาพปัจจุบัน เพื่อนำภาพถ่ายมาทำข้อมูลและตรวจสอบราษฎรที่บุกรุกพื้นที่ไม่ให้กระทำใดๆในพื้นที่ ถือเป็นการดำเนินการโดยผิดกฎหมาย
1.2 จัดทำข้อมูลการถูกบุกรุกพื้นที่ป่า โดยแบ่งเป็นบุกรุกโดยราษฎร และ นายทุน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการต่อกลุ่ม ซึ่งควรกำหนดให้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรเฉพาะราษฎรในพื้นที่ จำนวนพื้นที่ กี่ไร่ ใครควรมีพื้นที่หรือไม่มีพื้นที่ โดยพิจารณาแบ่งพื้นที่ที่เป็นธรรม และเหมาะสม
2. ยึดคืน
2.1 ดำเนินการตรวจยึดพื้นที่บุกรุกคืนทั้งหมด โดยหน่วยงานป่าไม้ในพื้นที่
2.2 ทำประชาคมราษฎรในพื้นที่ โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม ให้ชุมชนนำไปชี้พื้นที่ทำกินของราษฎร
2.3 นายทุนไม่มีสิทธิ์ในการครอบครองหรือใช้พื้นที่ป่า ซึ่งควรพิจารณาให้เฉพาะราษฎรที่มีความต้องการใช้พื้นที่ทำการเกษตร โดยจัดที่ทำกินเป็นส่วนรวมของหมู่บ้านตามความเหมาะสม และราษฎรได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทั้งนี้พื้นที่โดยรอบหมู่บ้าน หรือพื้นที่ราบถูกบุกรุกมีผืนติดต่อกัน เป็นพื้นที่ให้มีการจัดที่ทำกิน เพื่อรักษาสภาพป่าในพื้นที่เขาที่เป็นต้นน้ำ
3. ฟื้นฟู
3.1 จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่า ด้วยการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถูกบุกรุกเดิม ให้เติบโตทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย
3.2 จัดทำโครงการสร้างฝายในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และตามห้วยลำน้ำในพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่า
4. ดูแลรักษา
4.1 ส่งเสริมให้ท้องถิ่น หมู่บ้าน/ชุมชน เห็นความสำคัญของป่า และมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่าของหมู่บ้าน/ชุมชน
4.2 ดำเนินการลาดตระเวน เฝ้าตรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่า และราษฎรในพื้นที่ เช่น ชรบ. เพื่อตรวจสภาพพื้นที่ป่าร่วมกัน และต่อเนื่อง
4.3 จัดสร้างที่ตรวจการณ์และจุดต้านทานถาวรบนที่สูง บริเวณดอยพระเจ้า ซึ่งสามารถใช้ตรวจสภาพพื้นที่ป่า ได้ครอบคลุมพื้นที่ป่าขะเนจื๊อ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ในการตรวจการณ์ในพื้นที่ตรงข้ามได้

บทที่ 2


" สาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ "
1. การทำไม้ ความต้องการไม้เพื่อทำกิจการต่าง ๆ เช่น ทำอุตสาหกรรม โรงเลื่อย โรงงานกระดาษ สร้างที่อยู่อาศัยหรือร้านค้า ทำให้ต้นไม้ถูกลอบตัดหรือตัดไม้อย่างถูกต้องตามกฏหม

2. การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขาจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตรกรรมเพาะปลูก
4.การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลายๆ ป่า ทำให้ราษฏรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา
5.การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมตาย
6.ไฟไหม้ป่า ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้ ใบไม้จะแห้งแล้งและติดไฟง่าย
7.การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง
8.การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง
9.การทำลายของเชื้อโรคและแมลง ต้นไม้ในป่าเป็นจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคและแมลง จะเกิดการเหี่ยวเฉาแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต บางชนิดต้องสูญพันธุ์
10.ความตระหนักและความร่วมมือของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย

บทที่ 1



"การตัดไม้ทำลายป่า"
การตัดไม้ทำลายป่าคือสภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า

การตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง

การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช บริเวณที่ป่าถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักจะด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้

ปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในระดับมหภาคคือ ความไม่เอาใจใส่หรือความไม่รู้คุณค่าที่แท้จริง ขาดการให้คุณค่า การจัดการป่าไม้ที่ไม่เข้มงวด และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่บกพร่อง ในหลายประเทศ การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศการกลายสภาพเป็นทะเลทราย และการย้ายถิ่นฐานของคนพื้นเมือง ในกลุ่มประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรต่ำสุดที่ 4,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีการจัดการไม่ให้อัตราสุทธิของการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มสูงขึ้น